ยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์/กลยุทธ์

  • PDFพิมพ์อีเมล

ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ มีฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดกลาง มีหน้าที่จะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบ้านจันทน์ จึงจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ ในการที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาตำบลในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมด้านการเมืองการบริหาร และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องพัฒนาท้องถิ่นให้ครอบคลุมในทุกด้าน และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ” โดยมุ่งหวังให้ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข เป็นชุมชนปลอดจากอบายมุขและยาเสพติดเยาวชนในเขตพื้นที่มีคุณภาพ ประชาชนในเขตพื้นที่มีความสามัคคีกัน และเป็นพลังพัฒนาตำบลให้มีความเจริญ ซึ่งในการพัฒนาด้านต่างๆ ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ สามารถดำเนินการตามนโยบายและแผนงานและได้รับความไว้วางใจจากราษฎรให้เป็นที่ปรึกษา และแก้ไขปัญหาในทุกๆด้าน

เพื่อนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ มียุทธศาสตร์หลักที่จะดำเนินการให้ประสบความสำเร็จรวม 7 ยุทธศาสตร์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้บรรลุเป้าประสงค์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตร

ประชาชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

มีระบบการคมนาคม ระบบสาธารณูปโภคครบทุกหมู่บ้าน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสังคม

ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

ประชาชนมีสินค้าการเกษตรไว้จำหน่าย และอุปโภคบริโภคตลอดทั้งปี

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา

เด็กก่อนวัยเรียนได้รับการศึกษาครบถ้วน บำรุงอนุรักษ์รักษาประเพณีท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประชาชนให้ความสำคัญต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์ที่ 7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

ประชาชนมีส่วนร่วมการแสดงความคิดเห็นการบริหารงานส่วนท้องถิ่น

 

เป้าประสงค์

1. ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข พ้นระดับความยากจนอย่างยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี ได้รับบริการด้านการสาธารณสุขโดยทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
3. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนได้รับสวัสดิการสังคมอย่างทั่วถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า
4. เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพมีแหล่งความรู้ที่ทันสมัยและรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
5. ศิลปะ ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และภูมิปัญญาท้องถิ่นดำรงอยู่สืบทอดตลอดไป
6. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เกิดความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน
7. ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง
7. ประชาชนมีงานทำ มีอาชีพ และมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ
8. ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
9. สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นที่ต้องการของตลาด
10. มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
11. ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ มีความเข้าใจอันดีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารและการพัฒนาท้องถิ่นจากทุกภาคส่วน
12. การบริหารด้านการเงิน – การคลัง และการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลมีประสิทธิภาพ
13. ประชาชนได้รับบริการที่ดี สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
14. บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบล  ปฏิบัติงานบนพื้นฐานการมีคุณธรรมจริยธรรมและหลักธรรมาภิบาล
15. ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยของประชาชนเพิ่มมากขึ้น
16. ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้รับการดูแล รักษาอย่างยั่งยืน
17. ประชาชนมีจิตสานึกที่ดีในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
18. บ้านเมืองน่าอยู่ปราศจากมลภาวะ และสิ่งปฏิกูล ตลอดจนมีภูมิทัศน์ที่สวยงาม

ตัวชี้วัด

1. ร้อยละของครัวเรือนที่ทำการเกษตรชีวภาพ  
2. ร้อยละของครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย  
3. ร้อยละของประชากรในวัยทำงานที่มีงานทำ
4. ร้อยละครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ  
5. ร้อยละครัวเรือนที่มีน้ำเพื่อการเกษตร  
6. ร้อยละของประชากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในด้านการศึกษา การสาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน   
7. ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคมนาคมสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย  
8.  จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนา  
9. ร้อยละทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู เพิ่มเติม
10. จำนวนช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย  
11. ร้อยละของระดับความพึงพอใจที่ประชาชนที่มาใช้บริการจาก อบต.

ค่าเป้าหมาย

1. ครัวเรือนที่ทำการเกษตรชีวภาพ  ร้อยละ 75
2. ครัวเรือนที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย  ร้อยละ  90
3. ประชากรในวัยทำงานที่มีงานทำ ร้อยละ 90
4. ครัวเรือนที่มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ  ร้อยละ 95
5. ครัวเรือนที่มีน้ำเพื่อการเกษตร  ร้อยละ 75
6. ประชากรที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในด้านการศึกษา การสาธารณสุข ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ  90
7. ครัวเรือนที่ได้รับบริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เพียงพอ  ร้อยละ  90
8. จำนวนแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการพัฒนา  จำนวน  4 แห่ง
9. ทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการฟื้นฟู เพิ่มเติม  ร้อยละ  70
10.  มีช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอย่างน้อย  4 ช่องทาง
11. ประชาชนที่มาใช้บริการจาก อบต. ได้รับความพึงพอร้อยละ  90

กลยุทธ์

1.  การส่งเสริมทำการเกษตรชีวภาพ  เกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ
2.  การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้ฯฐานสาธารณูปโภค  สาธารณูปการ
3.  สร้างความเข้มแข็งและสร้างรายได้
4.  พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่และทำนุบำรุงศาสนา  ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
5.  การบริหารจัดการที่ดี  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
6.  บริหารจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

จุดยืนทางยุทธศาสตร์

จากการวิเคราะห์ข้อมูล  และศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์จึงกำหนดจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning)ไว้ใน 4 ประเด็น คือ
1. การพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
2. การสร้างชุมชนเข้มแข็งและเป็นสุข
3. การอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม เสริมสร้าง อัตลักษณ์ท้องถิ่น
4. การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งนำมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ 4 ด้าน ได้แก่
1. การพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั้งยืน
กรอบแนวคิด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมเมือง เป็นการ
พัฒนาปรับปรุงเมืองให้น่าอยู่ สวยงามมีระเบียบ ปลอดภัย มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี  ปราศจากมลภาวะ ประชาชนมีจิตสานึกที่ดีในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าใจตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อพื้นที่สาธารณะ จัดให้มีระบบการจัดการ และระบบการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ  การส่งเสริมสนับสนุน รณรงค์ให้ประชาชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. การสร้างชุมชนเข้มแข็งและเป็นสุข
กรอบแนวคิด  เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับชุมชน ชุมชนกับสังคมภายนอก เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัวชุมชน และสังคม    เป็นการจัดสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมครบถ้วนกับทุกกลุ่ม  มีความเป็นธรรมและเสมอภาค  ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนจัดระบบการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เข้มแข็งตามแนวทางปรัชญาศรษฐกิจเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของส่วนรวม  ส่งเสริมพัฒนาระบบประชาธิปไตย
3. การอนุรักษ์และสืบสานมรดกทางวัฒนธรรม เสริมสร้าง อัตลักษณ์ท้องถิ่น
กรอบแนวคิด  เ ป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟู สืบทอด พัฒนามรดกทางวัฒนธรรมทั้งทางด้านศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น  แหล่งเรียนรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อสร้างจิตสำนึกรักหวงแหน   และรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้แก่ประชาชนทั่วไป
4. การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
กรอบแนวคิด  การให้บริการประชาชนหรือผู้มาติดต่องานกับองค์การบริหารส่วนตำบล จะได้รับความสะดวกรวดเร็วบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย  และพนักงานใส่ใจให้บริการจนเกิดความพึงพอใจสูงสุดต่ออผู้รับบริการ


.:: เมนูหลัก Main Menu ::.

.:: รายงานผลการดำเนินงาน ::.

.:: ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ::.

.:: Line อบต.บ้านจันทน์ ::.

.:: ติดต่อสอบถาม ::.

ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี 41190

โทรศัพท์ 042-138445

.:: จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ ::.

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้11
mod_vvisit_counterเมื่อวานนี้119
mod_vvisit_counterสัปดาห์นี้1607
mod_vvisit_counterสัปดาห์ที่แล้ว1011
mod_vvisit_counterเดือนนี้4507
mod_vvisit_counterเดือนที่แล้ว3867
mod_vvisit_counterรวมทั้งหมด173600

We have: 5 guests online
IP ของคุณ: 54.163.62.42
 , 
วันที่ 29 มี.ค. 2024

.:: เว็บไซต์หน่วยงานเกี่ยวข้อง ::.

ทั้งหมด